การติดตั้งแลนภายในบ้านอย่างง่ายสามารถทำได้โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเข้าด้วยกันโดยผ่านสวิตช์และทำการปรับการตั้งค่าของโพรโทคอลการสื่อสารที่เกี่ยวข้องเช่นที่อยู่ไอพีของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้และถ้าต้องการเชื่อมต่อแลนดังกล่าวเข้ากับอินเทอร์เน็ตจะต้องทำการเชื่อมต่อสวิตช์เข้ากับอุปกรณ์จัดเส้นทางจากนั้นผู้ใช้งานจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเส้นทางเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้โดยขอใช้บริการจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแสดงตัวอย่างระบบเครือข่ายในบ้านที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์รับสัญญาณและเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบดีเอสแอลชนิดเอดีเอสแอลโมเด็ม
(Asymmetric Digital Subscriber line : ADSL modem) จากนั้นผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเส้นทางสวิตช์เพื่อขยายและเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่จะต่อพ่วงภายในบ้านหรือสำนักงานได้เองและเนื่องจากความก้าวทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ปัจจุบันได้มีการรวมเอาอุปกรณ์จัดเส้นทางเอดีเอสแอลโมเด็มสวิตช์และจุดเชื่อมต่อแบบไร้สายเข้าด้วยกันเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้
วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
อุปกรณ์การสื่อสาร
อุปกรณ์การสื่อสาร (communication
devices) ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งและรับข้อมูลโดยมีการส่งผ่านทางสื่อกลางดังกล่าวมาแล้วสัญญาณที่ส่งออกไปอาจอยู่ในรูปแบบดิจิทัลหรือแบบแอนะล็อกขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
1) โมเด็ม
(modem) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อกและแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัลเพื่อให้ข้อมูลส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ได้โมเด็มมีหลายประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้งานดังนี้
1.1) โมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์
(dial-up modem) เป็นโมเด็มที่ใช้ต่อเข้ากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์การเชื่อมต่อใช้วิธีการหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลต่ำประมาณ56
kbps ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์
1.2) ดิจิทัลโมเด็ม
(digital modem) เป็นโมเด็มที่ใช้รับและส่งข้อมูลผ่านสายเชื่อมสัญญาณแบบดิจิทัลการเชื่อมต่อโมเด็มแบบนี้ใช้ไม่จำเป็นต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่ผู้ให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ตโดยโมเด็มจะทำการเชื่อมต่อให้อัตโนมัติเมื่อการใช้งานสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงตั้งแต่128
kbps ขึ้นไปโดยทั่วไปจะเป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอก (external
modem) โมเด็มแบบนี้เช่น
- ดิเอสแอล (Digital Subscriber
Line: DSL) เป็นโมเด็มที่ได้รับความนิยมในการใช้งานในบ้านและสำนักขนาดเล็กโดยสามารถรับและส่งข้อมูลดิจิทัลด้วยความเร็วสูงกว่าการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์ตัวอย่างการติดตั้งอีเอสแอลโมเด็ม
- เคเบิลโมเด็ม (cable modem) เป็นโมเด็มทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายเคเบิลทีวีบางครั้งเรียกว่ารอดแบนด์โมเด็ม
(broadband modem) สามารถรับและส่งข้อมูลได้สูงเหมือนกับดีเอสแอลโมเด็มตัวอย่างการติดตั้งเคเบิลโมเด็ม
2) การ์ดแลน
(LAN card) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายตัวนำสัญญาณทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับและส่งข้อมูลกับระบบเครือข่ายได้ในอดีตเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ต่อเพิ่มเข้ากับเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ในปัจจุบันมักจะถูกประกอบรวมไปในเมนบอร์ดเนื่องจากความต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลายเป็นความจำเป็นพื้นฐานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไปแล้วนั่นเองตัวอย่างการ์ดแลนชนิดต่างๆ
3) ฮับ
(hub) เป็นฯอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้นดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมดแต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้นตัวอย่างการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์ด้วยฮับ
4) สวิตช์ (switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเช่นเดียวกับฮับแต่มีข้อแตกต่างจากฮับกล่าวคือการรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกจุดเหมือนฮับทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดแล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติสวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานีที่เชื่อมต่ออยู่กับสวิตช์และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักรับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่ายตัวอย่างการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสวิตช์
5) อุปกรณ์จัดเส้นทาง
(router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกันหรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกันดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทางอุปกรณ์ปลายทางอุปกรณ์จัดเส้นทางจะหาเส้นทางที่เหมาะสมให้เพื่อนำส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายต่างไปยังอุปกรณ์ปลายทางตามที่ระบุไว้ตัวอย่างการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง
6) จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย
(wireless access point) ทำหน้าที่คล้ายกับฮับของเครือข่ายแบบใช้สายเพื่อใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สายซึ่งข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางคลื่นวิทยุความถี่สูงโดยจะต้องใช้งานร่วมกับการ์ดแลนไร้สายที่ติดตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เช่นเครื่องพิมพ์เป็นต้นตัวอย่างการใช้งานจุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย
ตัวอย่างโพรโทคอล
สำหรับโพรโทคอลที่ใช้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารแบบใช้สายและแบบไร้สายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่น
1. ทีซีพี/ไอพี (Transmission Control
Protocol/Internet Protocol: TCP/UP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตโดยมีการระบุผู้รับผู้ส่งในเครือข่ายและจัดการแบ่งข้อมูลเป็นชิ้นเล็กๆที่เรียกว่าแพ็กเก็ต
(packet) ส่งผ่านไปในอินเทอร์เน็ตและมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นจะได้รับอย่างถูกต้องและครบถ้วนในกรณีที่ข้อมูลเกิดข้อผิดพลาดระหว่างทางจะมีการร้องขอเพื่อส่งข้อมูลใหม่ให้
2 ไวไฟ (Wireless Fidelity: Wi-Fi) มักถูกนำเอาไปอ้างถึงเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายตามมาตรฐานIEEE 802.11ซึ่งใช้คลื่นวิทยุความถี่2.4 GHz .เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารไวไฟเกิดจากการรวมกลุ่มกันของผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อทดสอบว่าอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นทำงานได้ตามมาตรฐานของIEEE 802.11โดยเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจากไวไฟจะสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้
ผู้ใช้งานในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กส่วนใหญ่นิยมใช้ไวไฟในการติดตั้งระบบแลนไร้สาย
(wireless LAN) โดยมีการติดตั้งแผงวงจรหรืออุปกรณ์รับส่งไวไฟที่เรียกว่าการ์ดแลนไร้สาย(wireless
LAN card) ซึ่งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจะมีตัวรับส่งสัญญาณไวไฟเป็นอุปกรณ์มาตรฐานแล้วสำหรับรัศมีการใช้งานของแลนไร้สายขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับส่งสัญญาณของอุปกรณ์ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ห่างจากจุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย
(wireless access point) ไม่เกิน100เมตรสำหรับการใช้งานภายในอาคารและไม่เกิน500เมตรสำหรับการใช้งานในที่โล่งนอกอาคารแต่ในการใช้งานจริงอาจมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้รัศมีการใช้งานสั้นลงเช่นผนังอาคารหรือตามจุดเชื่อมต่อแบบไร้สายที่อยู่ในมุมอับตัวอย่างระบบแลนไร้สาย
ระบบแลนไร้สายมีข้อดีคือทำให้ผู้ใช้งานมีอิสระในการเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ไปทำงานในที่ต่างๆได้สะดวกอย่างไรก็ตามการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายมีข้อควรระวังในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลเนื่องจากสัญญาณที่ส่งในแบบไร้สายสามารถถูกดักรับได้โดยง่ายดังนั้นมาตรบานIEEE
802.11จึงได้กำหนดให้อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบแลนไร้สายต้องให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งหรือไม่
3. บลูทูท (bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่2.4
GHz ในการรับส่งข้อมูลโดยคล้ายกับแลนไร้สายตามมาตรฐานIEEE 802.15มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สายอื่นๆเช่นเครื่องพิมพ์เมาส์คีย์บอร์ดพีดีเอโทรศัพท์เคลื่อนที่และหูฟังเข้าด้วยกันได้โดยสะดวกโดยมาตรฐานบลูทูทสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วมากกว่า3
Mbps
อุปกรณ์ต่างๆที่รองรับการทำงานแบบบลูทูทจะต้องถูกตั้งค่าการใช้งานของระบบโดยจะมีการจับคู่ระหว่างอุปกรณ์ที่ติดต่อกันก่อนเมื่อเข้าใกล้กันภายในรัศมีของการสื่อสารประมาณ10เมตรจะสามารถตรวจสอบพบอุปกรณ์อื่นที่เคยจับคู่ไว้แล้วได้เกิดเป็นระบบแพนไร้สายทำให้การรับส่งระหว่างกันทำได้โดยง่ายในการใช้งานบลูทูทจะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ที่เหลือเป็นอุปกรณ์รองซึ่งอุปกรณ์หลักจะทำหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลของอุปกรณ์รองตัวอื่นๆทั้งหมดตัวอย่างระบบแพนไร้สายโดยใช้บลูทูท
โพรโทคอล
การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตจากผู้ผลิตหลายรายผ่านทางระบบเครือข่ายชนิดต่างๆกันไม่สามารถเชื่อมต่อโดยตรงกันได้เช่นการติดต่อสื่อสารระหว่างเมนเฟรมของบริษัทไอบีเอ็ม
(IBM mainframe) ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรงกับเครื่องแมคอินทอชของบริษัทแอปเปิล
(Apple Macintosh) ดังนั้นต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่งและกำหนดมาตรฐานทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยมีองค์กรกลางเช่นIEEE
ISO และANSI เป็นผู้กำหนดมาตรฐานขึ้นมา
ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จากต่างผู้ผลิตสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ภายใต้มาตรฐานเครือข่ายเดียวกัน
กฎกติกาหรือข้อตกลงที่ใช้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งเรียกว่าโพรโทคอล
(protocol) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นวิธีการในการรับส่งข้อมูลรูปแบบของการรับส่งอุปกรณ์หรือสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลวิธีการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลรวมถึงความเร็วในการรับส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้โพรโทคอลจึงมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการสื่อสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ
รูปร่างเครือข่ายการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
รูปร่างเครือข่ายการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆตามลักษณะทางกายภาพที่เรียกว่ารูปร่างเครือข่าย
(network topology) โดยทั่วไปรูปร่างเครือข่ายสามารถแบ่งออกตามลักษณะของการเชื่อมต่อได้4รูปแบบคือ
1) เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างไม่ยุ่งยากสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวที่เรียกว่าบัส
(bus) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงไปถึงทุกสถานีได้ซึ่งการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้เกิดการชนกัน
(collison) ของข้อมูลโดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้คลื่นความถี่ในการส่งสัญญาณที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบบัสไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบัสเพียงจุดเดียวก็จะส่งผลให้ทุกอุปกรณ์ไม่สามารถสื่อสารถึงกันได้เลยรูปร่างเครือข่ายแบบบัส
2) เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology) เป็นการเชื่อมแต่ละสถานีเข้าด้วยกันแบบวงแหวนสัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับหากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใดสถานีนั้นก็รับไว้ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไปซึ่งระบบเครือข่ายแบบวงแหวนนี้สามารถรองรับจำนวนสถานีได้เป็นจำนวนมากข้อด้อยของเครือข่ายแบบวงแหวนคือสถานีจะต้องรอจนถึงรอบของตนเองก่อนที่จะสามารถส่งข้อมูลได้รูปร่างเครือข่ายแบบวงแหวน
3) เครือข่ายแบบดาว (star topology) เป็นการเชื่อมต่อสถานีในเครือข่ายโดยทุกสถานีจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางเช่นฮับ
(hub) หรือสวิตซ์ (switch) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างสถานีต่างๆที่ต้องการติดต่อกันของดีของการเชื่อมต่อแบบดาวคือถ้าสถานีใดเสียหรือสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ/สวิตซ์กับสถานีใดชำรุดก็จะไม่กระทบกับการเชื่อมต่อของสถานีอื่นดังนั้นการเชื่อมต่อแบบนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบันรูปร่างเครือข่ายแบบดาว
4) เครือข่ายแบบแมช (mesh topology) เป็นรูปแบบของการเชื่อมต่อที่มีความนิยมมากและมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากถ้ามีเส้นทางของการเชื่อมต่อคู่ใดคู่หนึ่งขาดจากกันการติดต่อสื่อสารระหว่างคู่นั้นยังสามารถติดต่อได้โดยอุปกรณ์จัดเส้นทาง
(router)
จะทำการเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ไปยังจุดหมายปลายทางอัตโนมัติการเชื่อมต่อแบบนี้มักนิยมสร้างบนเครือข่ายแบบไร้สายรูปร่างเครือข่ายแบบแมช
ลักษณะของเครือข่ายในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ลักษณะของเครือข่ายในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันสามารถแงลักษณะของเครือข่ายตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารได้ดังนี้
1) เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการหรือไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (client-server network) จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆเช่นบริการเว็บและบริการฐานข้อมูลการให้บริการขึ้นกับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการเช่นการเปิดเว็บเพจเครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องบริการเว็บจากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะตอบรับและส่งข้อมูลกลับมาให้เครื่องรับบริการข้อดีของระบบนี้คือสามารถให้บริการแก่เครื่องรับบริการได้เป็นจำนวนมากข้อด้อยคือระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษาค่อนข้างสูงตัวอย่างเครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ
2) เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer network :
P2P network) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการในขณะเดียวกันการใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูลเช่นเพลงภาพยนตร์โปรแกรมและเกมเครือข่ายแบบนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตการใช้งานจะมีซอฟต์แวร์เฉพาะเช่นโปรแกรมeDonkey, BitTorrent และLimeWire ข้อดีของระบบแบบนี้คือง่ายต่อการใช้งานและราคาไม่แพงข้อด้อยคือไม่มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัยจึงอาจพบว่าถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ถูกต้องเช่นการแบ่งปันเพลงภาพยนตร์และโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายตัวอย่างเครือข่ายระดับเดียวกัน
รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูล
รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบขนานหรืออนุกรมสามารถแบ่งได้3แบบดังนี้
1) การสื่อสารทางเดียว ( simplex
transmission ) ข้อมูลสามารถส่งได้ทางเดียวโดยแต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเช่นเป็นผู้รับหรือผู้ส่งบางครั้งเรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าการส่งทิศทางเดียว
( unidirectional transmission ) เช่นการกระจายเสียงของสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุ
2) การสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา
( half duplex transmission ) สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งสองฝ่ายแต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับจะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้เช่นวิทยุสื่อสาร( walkie-talkie radio )
3) การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา ( full
duplex transmission ) สามารถส่งข้อมูลได้สองทางโดยที่ผู้รับและผู้ส่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันเช่นการสนทนาทางโทรศัพท์คู่สนทนาคุยโต้ตอบได้ในเวลาเดียวกัน
การถ่ายโอนข้อมูล
การถ่ายโอนข้อมูลเป็นการส่งสัญญาณออกจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับโดยจำแนกได้2แบบคือ
1)การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหลายบิตพร้อมกันจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับผ่านสื่อกลางนำสัญญาณที่มีช่องทางส่งข้อมูลหลายช่องทางโดยทั่วไปจะเป็นสายนำสัญญาณหลายๆเส้นที่มีจำนวนสายส่งสัญญาณเท่ากับจำนวนบิตที่ต้องการส่งในแต่ละครั้งเช่นส่งข้อมูล11110001ออกไปพร้อมกันสายส่งก็มี8เส้นนอกจากการส่งข้อมูลหลักที่ต้องการแล้วอาจมีการส่งข้อมูลอื่นเพิ่มเติมไปด้วยเช่นบิตพาริตี
(Parity bit) ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทางหรือสายที่ควบคุมการตอบโต้เพื่อควบคุมจังหวะของการรับ-ส่งข้อมูลแต่ละชุดสายส่งข้อมูลแบบขนานนี้มีความยาวไม่มากเนื่องจากถ้าสายยาวมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสายและเกิดการรบกวนกันของสัญญาณการส่งโดยวิธีนี้จึงนิยมใช้กับการส่งข้อมูลในระยะทางใกล้ๆข้อดีของการรับ-ส่งข้อมูลชนิดนี้คือการรับ-ส่งข้อมูลทำได้เร็วแต่มีข้อเสียที่ต้องใช้สายส่งหลายเส้นทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อยคือการเชื่อมต่อระหว่างเมนบอร์ดกับฮาร์ดดิสก์ภายในคอมพิวเตอร์แบบEIDE
ดังรูปที่4.8ก. และการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ด้วยพอร์ตขนาน
2)การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมในการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิตระหว่างจุดส่งและจุดรับการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการสื่อกลางสำหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือคู่สายเดียวค่าใช้จ่ายในด้านของสายสัญญาณจะถูกกว่าขนานสำหรับการส่งระยะทางไกลๆการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลแต่ละชุดจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมแล้วทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับแต่เนื่องจากการทำงานและการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้ช่องทางการสื่อสารแบบขนานที่ประกอบด้วยชุดของข้อมูลหลายบิตดังนั้นที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่รับมาทีละบิตให้เป็นชุดของข้อมูลที่ลงตัวพอดีกับขนาดของช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในคอมพิวเตอร์เช่นบิตที่1ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่1เป็นต้นการเชื่อมต่อสามารถทำได้โดยใช้สายถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมหรือที่เรียกว่าสายซีเรียล
(Serial cable) ในปัจจุบันมีการพัฒนาการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมความความเร็วสูงโดยการเชื่อมต่อแบบยูเอสบี
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer
network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้เช่นสามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกันแบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่ายดังนี้
1) เครือข่ายส่วนบุคคลหรือแพน
(Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคลเช่นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือการเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย
2) เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลน
(Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันเช่นภายในบ้านภายในสำนักงานและภายในอาคารสำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่าเครือข่ายที่พักอาศัย
(home network) ซึ่งอาจใช้การเชื่อมต่อแบบใช้สายหรือไร้สาย
3) เครือข่ายนครหลวงหรือแมน
(Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไปเช่นการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกันการเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติกหรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อเครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส
(Campus Area Network: CAN)
4) เครือข่ายวงกว้างหรือแวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลกันมากเช่นเครือข่ายระหว่างจังหวัดหรือระหว่างภาครวมไปถึงเครือขายระหว่างประเทศ
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลหมายถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข่าวสารโดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูลประกอบด้วย
1.ข้อมูล/ข่าวสาร (data/message) คือข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสารอาจประกอบด้วยข้อความตัวเลขรูปภาพเสียงวีดิทัศน์หรือสื่อประสม
2.ผู้ส่ง (sender) คือคนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสารซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โทรศัพท์กล้องวีดิทัศน์เป็นต้น
3.ผู้รับ (receiver) คือคนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โทรศัพท์เป็นต้น
2.ผู้ส่ง (sender) คือคนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสารซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โทรศัพท์กล้องวีดิทัศน์เป็นต้น
3.ผู้รับ (receiver) คือคนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โทรศัพท์เป็นต้น
4.สื่อกลางในการส่งข้อมูล (transmission
media) คือสิ่งที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทางโดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสายเช่นสายเคเบิลสายยูทีพีสายไฟเบอร์ออพติกและสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สายเช่นคลื่นวิทยุไมโครเวฟและดาวเทียม
5.โพรโทคอล (protocol) คือกฎเกณฑ์ระเบียบหรือข้อปฏิบัติต่างๆที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นฯข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)