กรณีศึกษาเยาวชนตั้งแต่อายุ 10-24 ปี ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,441 ตัวอย่าง จำแนกตามกลุ่มอายุระหว่าง 10-15 ปี, 16-20 ปี และ 21-24 ปี ภายใต้ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8-25 ก.ค. 50 พบว่าในช่วง 30 วันที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 93.5 ระบุเคยเล่นเกมและร้อยละ 6.5 ไม่เคยเล่นเกม โดยประเภทของเกมที่ชอบเล่นสูงสุดร้อยละ 53.1 เป็นเกมต่อสู้ รองลงมาร้อยละ 27.9 เล่นเกมแฟนตาซีผจญภัย และร้อยละ 23.4 เล่นเกมแข่งกีฬา โดยร้อยละ 24 มีความถี่ในการเล่นเกมทุกวัน/เกือบทุกวัน/สัปดาห์ มีระยะเวลาเล่นเกมเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 1 นาที/ครั้ง และมีค่าใช้จ่ายในการเล่นเกมเฉลี่ย 537 บาท/เดือน ส่วนเหตุผลในการเล่นเกมร้อยละ 97.8 ระบุ เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ร้อยละ 91.7 ระบุเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานหรือเรียน และร้อยละ 83.4 ระบุเพื่อพัฒนาทักษะทางคอม พิวเตอร์ โดยร้อยละ 30.8 ระบุเล่นตามเพื่อน ต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน/เล่นตามแฟชั่น นอกจากนี้ร้อยละ 32.8 เห็นว่าการติดเกมเป็นปัญหาส่วนตัว ร้อยละ 25.7 เห็นว่าเป็นปัญหาสังคม และร้อยละ 15.5 เห็นว่าเป็นปัญหาครอบครัว ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และหัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า ปัญหาเด็กติดเกมไม่ได้ส่งสัญญาณไปในทางที่ดีขึ้น มีเด็กนิยมเล่นเกมต่อสู้ ยิงปืน เตะต่อย เพิ่มขึ้นเกินกว่าครึ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 48 ซึ่งมีอยู่ 35-40 รวมทั้งกลุ่มอายุ 10-15 ปี แม้จะใช้ระยะเวลาในการเล่นเกมต่อครั้งเพียง 2 ชั่วโมง 44 นาที น้อยที่สุดในกลุ่มตัวอย่าง แต่ทว่ากลับมีความถี่ในการเล่นเกมต่อสัปดาห์สูงสุด โดยร้อยละ 50 ระบุ สามารถเข้าถึงร้านเกมได้ง่าย เนื่องจากรอบ ๆ โรงเรียนมีร้านเกมกว่า 10 ร้าน รวมทั้งเด็กที่ติดเกมมีโอกาสหนีเรียนมากกว่าเด็กที่ไม่ติดเกม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น