วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำสั่ง SQL


1. SQL Select
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการเรียกดูข้อมูลในตาราง (Table) คำสั่ง SQL SELECT สามารถเรียกได้ทั้งตาราง หรือว่า สามารถระบุฟิวด์ที่ต้องการเรียกดูข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่น

SELECT * FROM Shippers;


2. SQL Where
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการระบุเงื่อนไขการเลือกข้อมูลในตาราง (Table)  คำสั่ง SQL WHERE สามารถระบุเงื่อนไขในการเลือกข้อมูลได้ 1 เงื่อนไข หรือมากกว่า 1 เงื่อนไข ตัวอย่างเช่น

SELECT * FROM Customers
WHERE Country='Mexico';












3. SQL OR AND 
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการระบุเงื่อนไขการเลือกข้อมูลในตาราง (Table) การเชื่อมวลีสำหรับเงื่อนไขต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น

(การใช้ OR)
SELECT * FROM Customers
WHERE City='Berlin'
OR City='München';



(การใช้ AND)
SELECT * FROM Customers
WHERE Country='Germany'
AND City='Berlin';





4. SQL ORDER BY 
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการระบุเงื่อนไขการเลือกข้อมูลในตาราง (Table) โดยจัดเรียงข้อมูลตามต้องการ ตัวอย่างเช่น

SELECT * FROM Shippers
ORDER BY Phone,ShipperName;







5. SQL INSERT INTO
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลลงในตาราง (Table) โดยสามารถเพิ่มได้ทั้งแถวหรือว่าเพิ่มในส่วนของแต่ละฟิวด์ ตัวอย่างเช่น

INSERT INTO Customers (CustomerName, City, Country)
VALUES ('Cardinal', 'Stavanger', 'Norway');

* เพิ่มข้อมูลในตาราง

6. SQL UPDATE 
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลในตาราง (Table) โดยสามารถทำการแก้ไขได้หลายฟิวด์และหลาย Record ภายในคำสั่ง 1 คำสั่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Where ที่ผู้ใช้ได้เขียนขึ้น ตัวอย่างเช่น

UPDATE Customers
SET ContactName='Alfred Schmidt', City='Hamburg'
WHERE CustomerName='Alfreds Futterkiste';

* เปลี่ยนเเปลงข้อมูลในตาราง

7. SQL DELETE
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับลบข้อมูลในตาราง (Table) โดยสามารถทำการลบได้หลาย Record ภายในคำสั่งเดียว หรือว่า Record เดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Where ที่ผูใช้เขียนขึ้นด้วย ตัวอย่าง

DELETE FROM Customers
WHERE CustomerName='Alfreds Futterkiste' AND ContactName='Maria Anders';

* ลบข้อมูลในตาราง

8. SQL UNION 
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการรวมหลาย Query มารวมให้ใน Table เดียวกับ โดยจำนวน คอลัมบ์หรือฟิวด์นั้นจะต้องเท่ากันด้วย ตัวอย่างเช่น

SELECT City FROM Customers
UNION
SELECT City FROM Suppliers
ORDER BY City;














9. SQL UNIQUE
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง UNIQUE ต้องการให้ฟิวด์หรือ Column นั้น ๆ มีค่าไม่ซ้ำกันของ Rows ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น

CREATE TABLE Persons
(
P_Id int NOT NULL,
LastName varchar(255) NOT NULL,
FirstName varchar(255),
Address varchar(255),
City varchar(255),
UNIQUE (P_Id)
)

10. SQL DROP 
     เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบคุณสมบัติต่าง ๆ ของตาราง เช่น ลบตาราง , ลบฐานข้อมูล , ลบ Index ตัวอย่างเช่น

- ลบฐานข้อมูล 
DROP TABLE 'TableName' 

- ลบตาราง 
DROP DATABASE 'DatabaseName'

- ลบ Index
DROP INDEX TableName.IndexName (for SQL Server) 
DROP INDEX TableName on IndexName (for Access)

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การกำหนดฟังก์ชันและการเรียกฟังก์ชัน


การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้
<?php
function function_name(parameter1,…)
{
ชุดคำสั่ง
}
?>

ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function

<?php
function my_function()
{
$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก
BODYSTRING;
echo $mystring;
}
?>
          การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้
my_function ();

การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser



 การตั้งชื่อฟังก์ชัน
          สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()

ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
          - ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
          - ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
          - ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
          - หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่
         
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง

ชื่อฟังก์ชันที่ถูกต้อง
name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()


ชื่อฟังกชันที่ไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()

          การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
          ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน



การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน
          คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน

<?php
function division($x, $y)
{
if ($y == 0 || !isset($y))
{
echo " ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า" ;
return;
}
$result = $x / $y;
echo $result;
}
?>

          ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร



สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2

ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2



การเรียกฟังก์ชัน
          เมื่อฟังก์ชันได้รับการประกาศหรือสร้างขึ้นแล้ว การเรียกฟังก์ชันสามารถเรียกมาจากที่ใดๆ ภายในสคริปต์ หรือ จากไฟล์ที่มีการรวมด้วยประโยคคำสั่ง include() หรือ require()
          ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_message() เก็บอยู่ในไฟล์ fn_ 03 _keeper.php ส่วนผู้เรียกอยู่ในสคริปต์ fn_ 03 _caller.php

<?php
include("fn_ 03 _keeper.php");
show_message();
?>

ฟังก์ชัน PHP


ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียว สิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน
          ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย
my_function ();
          คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้
          ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo () สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้
phpinfo ();

ข้อสอบ O-Net วิชาคอมพิวเตอร์ (ม.6)


1.   ข้อใดไม่ใช่ ขั้นตอนหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์
          ก.  ประมวลผล            ข.  เก็บข้อมูล 
          ค.  รับข้อมูล               ง.  แสดงผลลัพธ์     
          จ.  นำข้อมูลเข้า

2.  หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์เรียกว่า
          ก.  บิต    ( 1 กับ 0)                ข.  ไบต์ 
          ค. ฟิลด์                                         ง.  เร็คคอร์ด
          จ. ไฟล์

3.  ข้อมูลเมื่อผ่านการประมวลผลแล้ว จะได้อะไร
          ก.  Document                     ข.   Report
          ค.  Information                  ง.  Output
          จ.  Database

4.  สัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณชนิดใด
          ก.  อนาล็อก               ข.  ดิจิตอล  
          ค.  ไฮบริค                  ง.  ไฟฟ้า
          จ. อิเล็กทรอนิกส์

 5. สิ่งใดที่หุ่นยนต์ไม่สามารถทำได้
          ก.  การเปิดกล่องระเบิด           ข.  การเลือกผลไม้
          ค.  การก่อการร้าย                 ง.  การปอกเลือกไข่ต้ม 
          จ.  การเก็บกู้ระเบิด

6.  IP Address คือ
          ก.  หมายเลยประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย
          ข.  โพรโทคอลที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          ค.  หมายเลขประจำของเครื่องเซิร์ฟเวอร์
          ง.  ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
          จ. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดกล่าวถึง Protocol ได้ถูกต้อง
          ก.  การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
          ข. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล
          ค.  การบริหารวารสารและข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต
          ง. เครื่องมือที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูลในรูปแบบเอกสาร
          จ.  ภาษาการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ต

  8.  ส่วนประกอบใดของโปรแกรม Internet Explorer ที่ทำหน้าที่แสดงที่อยู่ของเว็ปไซด์
          ก.  แถบชื่อ                           ข.  แถบสื่อสาร   
          ค.  แถบสถานะ                      ง.  พื้นที่แสดงเว็บเพจ
          จ. แถบที่อยู่ของเว็บไซต์

9.   s15550036@student.rit.ac.th  ข้อความ “s1555036” หมายถึงข้อใด
          ก.  Domain Name                ข.  Password   
          ค.  Sub Domain                   ง.  Username   
          จ.  ISP

10. ไฟล์ที่ถูกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลไฟล์ตามข้อใด
          ก.  .doc                    ข.  .zip 
          ค.  .com                   ง.  .txt 
          จ.  .exe

11.  ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่จำกัดผู้ใช้  ปัญหาดังกล่าวคือ
          ก.  อาจมีผู้บุกรุก เข้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์               ข.  ความปลอดภัยของข้อมูล
          ค.  ลิขสิทธิ์                                                      ง.  ไวรัสคอมพิวเตอร์ทำลายข้อมูล
          จ.  ถูกทุกข้อ


12.  ข้อใด  ไม่ใช่  ประโยชน์ของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
          ก.  หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล                            ข.  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลลงได้
          ค.  ข้อมูลไม่สูญหายเนื่องจากถูกเก็บไว้หลายๆ ที่              ง.  ประหยัดอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล
          จ.  กำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้

13. ข้อใดจัดเป็นโปรแกรม DBMS
          ก.  โปรแกรมภาษาโคบอล                   ข.  โปรแกรมภาษาปาสคาล
          ค.  โปรแกรมภาษาเบสิค                     ง. โปรแกรมภาษาซี
          จ.  โปรแกรม SQL

14. รายละเอียดข้อมูลที่แสดงถึงคุณสมบัติของเอ็นติตี้ คือ
          ก.  Attribute              ข.  Relationship 
          ค.  Database                       ง.  Field
          จ.  File

15. กรณีที่กำหนดว่า นักศึกษาแต่ละคนสามารถลงทะเบียนได้หลายวิชา ในขณะที่แต่ละวิชานักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้หลายคน   ความสัมพันธ์ระหว่างรายวิชาและนักศึกษาเป็นความสัมพันธ์แบบใด
          ก.  แบบหนึ่งต่อกลุ่ม            ข.  แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
          ค.  แบบกลุ่มต่อหนึ่ง            ง.  แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
          จ.   ถูกทุกข้อ

16. ความสัมพันธ์”  ที่กล่าวถึงในข้อ 15  หมายถึง
          ก.  ความสัมพันธ์ระหว่างเอททริบิวต์      ข.  ความสัมพันธ์ระหว่างฟิลด์
          ค.  ความสัมพันธ์ระหว่างเร็คคอร์ด         ง.  ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นติตี้
          จ.  ความสัมพันธ์ระหว่างฐานข้อมูล

17. ชนิดความสัมพันธ์ใดต่อไปนี้ในข้อใดไม่ถูกต้อง
          ก.  1 : 1          ข.  1 : m   
          ค.  M : 1        ง.  M : n      
          จ.  1: n

18. ถ้าจะกำหนดความสัมพันธ์ข้อมูลของร้านอาหารแห่งหนึ่งระหว่างรายการอาหารกับลูกค้า ควรจะกำหนดความสัมพันธ์ในรูปแบบใด
          ก.  One to One                    ข.  One to Many     
          ค.  Many to Many                 ง.  Many to One   
          จ. ถูกทุกข้อ

19. ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล เช่น กำหนดการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละคน ตรงกับบุคคลต่อไปนี้
          ก.  Programmers                  ข.  DBA
          ค.  DBMS                            ง.  Computer Analysis   
          จ.  Data Entry

20. ข้อใด  ไม่ใช่  ผลเสียของการทำงานด้วยระบบไฟล์
          ก.  เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ                ข.  เขียนโปรแกรมเพื่อจัดการกับข้อมูลยาก
          ค.  เกิดความขัดแย้งของข้อมูล               ง.  เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
          จ.  ผิดทุกข้อ

แหล่งที่มา : http://tongrod-tongrod.blogspot.com/2012/02/o-net.html 

เฉลยข้อสอบ O-Net ม.6 วิชาคอมพิวเตอร์

หมายเหตุ : ช้อยส์ที่ทำตัวหนาขีดเส้นใต้ไว้ คือ ช้อยส์ที่เป็นคำตอบของข้อนั้น
1.   ข้อใดไม่ใช่ ขั้นตอนหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์
          ก.  ประมวลผล            ข.  เก็บข้อมูล 
          ค.  รับข้อมูล               ง.  แสดงผลลัพธ์     
          จ.  นำข้อมูลเข้า

2.  หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์เรียกว่า
          ก.  บิต    ( 1 กับ 0)                ข.  ไบต์ 
          ค. ฟิลด์                                         ง.  เร็คคอร์ด
          จ. ไฟล์

3.  ข้อมูลเมื่อผ่านการประมวลผลแล้ว จะได้อะไร
          ก.  Document                     ข.   Report
          ค.  Information                  ง.  Output
          จ.  Database

4.  สัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณชนิดใด
          ก.  อนาล็อก               ข.  ดิจิตอล  
          ค.  ไฮบริค                  ง.  ไฟฟ้า
          จ. อิเล็กทรอนิกส์


5. สิ่งใดที่หุ่นยนต์ไม่สามารถทำได้
          ก.  การเปิดกล่องระเบิด           ข.  การเลือกผลไม้
          ค.  การก่อการร้าย                 ง.  การปอกเลือกไข่ต้ม 
          จ.  การเก็บกู้ระเบิด

6.  IP Address คือ
          ก.  หมายเลยประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย
          ข.  โพรโทคอลที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          ค.  หมายเลขประจำของเครื่องเซิร์ฟเวอร์
          ง.  ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
          จ. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดกล่าวถึง Protocol ได้ถูกต้อง
          ก.  การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
          ข. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล
          ค.  การบริหารวารสารและข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต
          ง. เครื่องมือที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูลในรูปแบบเอกสาร
          จ.  ภาษาการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ต


8.  ส่วนประกอบใดของโปรแกรม Internet Explorer ที่ทำหน้าที่แสดงที่อยู่ของเว็ปไซด์
          ก.  แถบชื่อ                           ข.  แถบสื่อสาร   
          ค.  แถบสถานะ                      ง.  พื้นที่แสดงเว็บเพจ
          จ. แถบที่อยู่ของเว็บไซต์

9.   s15550036@student.rit.ac.th  ข้อความ “s1555036” หมายถึงข้อใด
          ก.  Domain Name                ข.  Password   
          ค.  Sub Domain                   ง.  Username   
          จ.  ISP

10. ไฟล์ที่ถูกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลไฟล์ตามข้อใด
          ก.  .doc                    ข.  .zip 
          ค.  .com                   ง.  .txt 
          จ.  .exe

11.  ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่จำกัดผู้ใช้  ปัญหาดังกล่าวคือ
          ก.  อาจมีผู้บุกรุก เข้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์               ข.  ความปลอดภัยของข้อมูล
          ค.  ลิขสิทธิ์                                                         ง.  ไวรัสคอมพิวเตอร์ทำลายข้อมูล
          จ.  ถูกทุกข้อ

 12.  ข้อใด  ไม่ใช่  ประโยชน์ของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
          ก.  หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล                            ข.  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลลงได้
          ค.  ข้อมูลไม่สูญหายเนื่องจากถูกเก็บไว้หลายๆ ที่              ง.  ประหยัดอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล
          จ.  กำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้

13. ข้อใดจัดเป็นโปรแกรม DBMS
          ก.  โปรแกรมภาษาโคบอล                   ข.  โปรแกรมภาษาปาสคาล
          ค.  โปรแกรมภาษาเบสิค                     ง. โปรแกรมภาษาซี
          จ.  โปรแกรม SQL

14. รายละเอียดข้อมูลที่แสดงถึงคุณสมบัติของเอ็นติตี้ คือ
          ก.  Attribute              ข.  Relationship 
          ค.  Database                       ง.  Field
          จ.  File

15. กรณีที่กำหนดว่า นักศึกษาแต่ละคนสามารถลงทะเบียนได้หลายวิชา ในขณะที่แต่ละวิชานักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้หลายคน   ความสัมพันธ์ระหว่างรายวิชาและนักศึกษาเป็นความสัมพันธ์แบบใด
          ก.  แบบหนึ่งต่อกลุ่ม            ข.  แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
          ค.  แบบกลุ่มต่อหนึ่ง            ง.  แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
          จ.   ถูกทุกข้อ

16. ความสัมพันธ์”  ที่กล่าวถึงในข้อ 15  หมายถึง
          ก.  ความสัมพันธ์ระหว่างเอททริบิวต์      ข.  ความสัมพันธ์ระหว่างฟิลด์
          ค.  ความสัมพันธ์ระหว่างเร็คคอร์ด         ง.  ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นติตี้
          จ.  ความสัมพันธ์ระหว่างฐานข้อมูล

17. ชนิดความสัมพันธ์ใดต่อไปนี้ในข้อใดไม่ถูกต้อง
          ก.  1 : 1          ข.  1 : m   
          ค.  M : 1        ง.  M : n      
          จ.  1: n

18. ถ้าจะกำหนดความสัมพันธ์ข้อมูลของร้านอาหารแห่งหนึ่งระหว่างรายการอาหารกับลูกค้า ควรจะกำหนดความสัมพันธ์ในรูปแบบใด
          ก.  One to One                    ข.  One to Many     
          ค.  Many to Many                         ง.  Many to One   
          จ. ถูกทุกข้อ

19. ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล เช่น กำหนดการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละคน ตรงกับบุคคลต่อไปนี้
          ก.  Programmers                  ข.  DBA
          ค.  DBMS                            ง.  Computer Analysis   
          จ.  Data Entry

20. ข้อใด  ไม่ใช่  ผลเสียของการทำงานด้วยระบบไฟล์
          ก.  เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ                ข.  เขียนโปรแกรมเพื่อจัดการกับข้อมูลยาก
          ค.  เกิดความขัดแย้งของข้อมูล               ง.  เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
          จ.  ผิดทุกข้อ


แหล่งที่มา : http://tongrod-tongrod.blogspot.com/2012/02/o-net.html